โรคลมชัก

โรคลมชัก เกิดจากการรบกวนของกระแสไฟฟ้าในสมองที่ไม่สามารถควบคุมได้ ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหว ความรู้สึก หรือพฤติกรรมที่อาจเปลี่ยนแปลงไปโดยอาจรู้หรือไม่รู้ตัวขณะเกิดอาการลมชัก

อาการของ โรคลมชัก มีหลายประเภทขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงและบริเวณที่เกิดความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในสมอง โดยปกติอาการชักจะกินเวลาตั้งแต่ 30 วินาทีจนถึง 2 นาที หากอาการชักดำเนินไปเป็นเวลานานกว่า 5 นาทีจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือทางการแพทย์ฉุกเฉิน อาการลมชักอาจเกิดขึ้นหลังจากการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง การบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือการติดเชื้อ ทั้งนี้อาการลมชักโดยทั่วไปสามารถควบคุมได้ด้วยยา

โรคลมชัก

สาเหตุของโรคลมชัก

สาเหตุโรคลมชักนั้นยังไม่ชัดเจน แต่ส่วนหนึ่งพบว่ามีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ รวมถึงการที่สมองเคยได้รับอันตรายต่างๆ มาก่อน เช่น ภาวะขาดออกซิเจนขณะคลอด อุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนสมอง เนื้องอกในสมอง หลอดเลือดสมองผิดปกติ การติดเชื้อของระบบประสาท ความผิดปกติทางสมองมาตั้งแต่กำเนิด โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคลมชักจากสาเหตุเหล่านี้ อาจจะมีพัฒนาการด้านร่างกาย และสมองผิดปกติร่วมด้วย

อาการของโรคลมชัก

อาการโรคลมชักขึ้นกับหน้าที่ของสมองในตำแหน่งที่ถูกรบกวนด้วยคลื่นไฟฟ้าสมองที่ผิดปกติในขณะชัก เช่น ถ้าขณะชักไฟฟ้าสมองรบกวนสมองส่วนที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว (primary motor cortex) ผู้ป่วยจะมีอาการชักแบบเกร็งกระตุก ถ้ารบกวนส่วนที่ควบคุมการมองเห็น (visual cortex) ผู้ป่วยอาจเห็นแสง (flashing light) ในขณะที่มีอาการชัก แต่อาการชักชนิดที่พบได้บ่อยคือ อาการชักเกร็งกระตุกทั้งตัว (generalized tonic clonic or grand mal seizure) ส่วนใหญ่จะเกร็งกระตุกนาน 2-3 นาที โดยผู้ป่วยไม่รู้ตัวในขณะชัก จำเหตุการณ์ไม่ได้ คนทั่วไปมักเรียกอาการชนิดนี้ว่า ลมบ้าหมู อาการปัสสาวะ อุจจาระราดก็พบได้พร้อมอาการชัก

ภาวะแทรกซ้อนของโรคลมชัก

– การล้ม

– การจมน้ำ

– อุบัติเหตุทางรถยนต์

– ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์

– ปัญหาสุขภาพทางอารมณ์

การรักษาโรคลมชัก

1.ยาต้านอาการชัก

2.การผ่าตัดและการบำบัดอื่น ๆ

– ศัลยกรรม เพื่อหยุดการเกิดอาการชักโดยการเอานำสมองส่วนที่ได้รับผลกระทบให้เกิดอาการชักออก

– กระตุ้นเส้นประสาทวากัส อุปกรณ์จะถูกฝังไว้ใต้ผิวหนังของหน้าอกเพื่อส่งสัญญาณไปยังสมอง

– การกระตุ้นระบบประสาทที่ตอบสนอง อิเล็กโทรดจะถูกฝังไว้ที่พื้นผิวของสมองหรือภายในเนื้อเยื่อสมองเพื่อหยุดการชัก

– กระตุ้นสมองส่วนลึก เพื่อควบคุมปริมาณการกระตุ้นที่ถูกผลิตขึ้น

– การบำบัดด้วยอาหาร แพทย์อาจแนะนำการบำบัดด้วยอาหารเพื่อปรับปรุงการควบคุมอาการชัก

การป้องกันโรคลมชัก

การป้องกันโรคลมชักที่ดีที่สุด คือการรู้ตัวว่าเป็นโรคลมชักในระยะแรกๆ และทำการรักษาแต่เนิ่นๆ จะช่วยป้องกันไม่ให้สมองถูกทำลาย สามารถกลับมามีชีวิตได้ตามปกติ ส่วนพฤติกรรมที่ไม่ควรทำ เช่น อดนอน อดอาหาร ออกกำลังกายหักโหมเกินไป ดื่มแอลกอฮอล์ เครียด เพราะทำให้มีโอกาสเป็นโรคลมชักง่ายขึ้น

ที่มา

medparkhospital.com

vejthani.com

ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ queenslandmultimediaawards.com